สนาม: จีน Ji'an Net
บทนำ:พลรอชาญชัย เจริญสุวรรณ นายกสมาคมการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าการปลดล็อคเป็นสิ่งที่พูดดูดี แต่มันไม่ได้ปลดแท้จริงตามที่สธบอกคือการใช้สารสกัด ดังนั้นการวิจัยและทดลอง 5 ปีเพื่อใช้สกัดคือการปลดล็อค ด้านเดียว ซึ่งหากมีความเที่ยงธรรมควรควบคู่ภูมิปัญญาที่ใช้ ดอก รากได้ ที่มีการทำกันในการใช้กัญชาใต้ดิน ดังนั้นเป็นการปิดกั้นการแพทย์แผนไทย เราจะต้องสูญเสียนวัตกรรมไทยไปอีก 5 ปี หลังจากสูญมาแล้วประมาณ 30-40 ปี ซึ่งเราเสียเวลาไปมากแล้ว ซึ่งคนที่มาใช้แพทย์แผนไทยส่วนมากคือคนไร้หนทาง สิ้นหวัง ระยะ 5 ปีที่ถูกปิดกั้น จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสและเสียชีวิตไปอีกเท่าไหร่ ตรงนี้มองไม่เห็นอนาคต เ เราต้องการความยุติธรรมในเรื่องนี้ ทั้งที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ทำได้ องค์การอนามัยโลกก็เปิดโอกาสให้ประเทศที่ใช้แพทย์ดั้งเดิมประจำชาติกำหนดกติกาตัวเองได้ ซึ่งเราก็มีประกาศตำรายาไทยแห่งชาติ ที่ใช้ได้ถูกต้องตามกฎหมาย...
สนาม: ตอบทุกคำถาม
บทนำ: สถิติของประเทศไทยสวนทางกับสถิติโลก โดยมีปัจจัยหลักมาจากสภาพสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงรายได้ของประชากรที่แตกต่างกัน ซึ่งการประชุม Safety 2018 นี้ เป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยและทั่วโลกจะได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานป้องกันการบาดเจ็บและการส่งเสริมความปลอดภัย ทั้งการแก้ปัญหาสังคม ปัญหาสุขภาพ การจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน การป้องกันความรุนแรงในเด็กและสตรี การป้องกันการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ ความปลอดภัยจากการกีฬา และประเด็นอื่นๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และมากไปกว่านั้นคือการคาดหวังว่าในอนาคตทั่วโลกจะช่วยกันลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุลงให้เป็นศูนย์ได้ นพอนุชากล่าว นพอีเทียน ครูกก์ ผู้อำนวยการกองการจัดการโรคไม่ติดต่อ ความพิการ การป้องกันความรุนแรงและการบาดเจ็บ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า นับเป็นความก้าวหน้าของประเทศไทยที่เร่งดำเนินงานแก้ไขปัญหาจากอุบัติเหตุ โดยมีนโยบายที่ชัดเจน เช่น การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน การป้องกันความรุนแรงแรงในเด็ก และการป้องกันเด็กจมน้ำ เป็นต้น แต่การขับเคลื่อนยังดำเนินไปค่อนข้างช้า เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ รวมถึงต้องมีการสื่อสารและเพิ่มฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการให้ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ นพวิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกด้านวิกฤติบำบัดและอุบัติเหตุ และประธานคณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร) สนับสนุนโดย สสส กล่าวในเวทีอภิปรายหลักหัวข้อ ความสำเร็จด้านการป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ ว่า อุบัติเหตุทางถนนจัดอยู่ใน 10 ประเภทของอุบัติเหตุที่เกิดโดยไม่ตั้งใจ และเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในประชากรไทย สถิติล่าสุดพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ย 32 คนต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี 2020 กำหนดให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกลดอัตราการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งของตัวเลขเดิม นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับไทย เนื่องจาก 90% ของการเกิดอุบัติเหตุมีสาเหตุมาจาก พฤติกรรมคน ที่ควบคุมได้ยาก สอจร ยึดนโยบาย Vision Zero ของประเทศสวีเดนในการปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อของประชาชนและผู้ปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยทางถนน ที่ระบุว่า อุบัติเหตุทางถนนล้วนป้องกันได้ เพราะไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือเคราะห์กรรม แต่เกิดจากความบกพร่องของระบบโดยรวม ทั้งปัจจัยคน รถ ถนน และสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดเหตุขึ้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลระบบแต่ละด้านต้องร่วมกันรับผิดชอบ ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันแก้ปัญหา โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการกำจัดอุบัติเหตุทางถนนไม่ให้เกิดขึ้นเลย ซึ่งความสำเร็จจากการที่ประเทศสวีเดนมีวิสัยทัศน์นี้ ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลงอยู่ที่เฉลี่ย 3 คนต่อประชากร 100,000 คน และรัฐบาลสวีเดนยังได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2050 ต้องไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน นพวิทยากล่าว นพวิทยากล่าวต่อว่า การสร้างพฤติกรรมการขับขี่อย่างถูกต้องปลอดภัยนั้น Vision Zero เน้นความสำคัญกับการให้ความรู้ตั้งแต่วัยเด็ก ขณะที่วัยผู้ใหญ่ควรได้รับการรณรงค์ชี้ให้เห็นโทษการทำผิดวินัยจราจร ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย เช่น การติดตั้งกล้องตรวจจับความเร็วทุกจุดเสี่ยง และเก็บสถิติการกระทำความผิด เพื่อป้องกันการทำผิดซ้ำ ซึ่งสวีเดนพิสูจน์แล้วว่ามาตรการเหล่านี้มีผลกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนมากที่สุด นอกจากการประยุกต์ใช้วิสัยทัศน์ของสวีเดนแล้ว ประเทศไทยจำเป็นต้องแก้ปัญหาเชิงระบบ ทุกหน่วยงานควรแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขต้นตอปัญหา ซึ่งที่ผ่านมา สสสมีส่วนสำคัญในการสานพลังเชื่อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ให้นำสถิติข้อมูลที่ได้จากการจัดเก็บมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อถอดบทเรียนการทำงานและหาทางแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด พร้อมกันนี้ยังประสานให้ สอจรและเครือข่ายสื่อภูมิภาค เป็นผู้นำให้ความรู้และสื่อสารกับกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กและเยาวชน กลุ่มแรงงาน และผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทั่วไป เพื่อร่วมกันสร้างวินัยการขับขี่ถูกต้อง จนเกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบชุมชนปลอดภัยในหลายจังหวัดทั่วประเทศ นพวิทยากล่าว
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-04-19